หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชธานีฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2551
ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) : หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต
(ภาษาอังกฤษ) : BACHELOR OF NURSING SCIENCE PROGRAM
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : พยาบาล ศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : พย.บ.
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : BACHELOR OF NURSING SCIENCE
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.N.S.
ปรัชญาของหลักสูตร
คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชธานี เชื่อว่าการพยาบาลเป็นวิชาชีพ ที่ต้องมีความรู้ในศาสตร์สาขาการพยาบาลและศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประยุกต์ศาสตร์ต่างๆ ในการให้บริการดูแลผู้ป่วยและประชาชนทุกช่วงวัย ของชีวิต โดยครอบคลุมทั้งทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพสมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และยั่งยืน สามารถปรับตัวในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม มีความรู้ความชำนาญทางวิชาชีพ จัดการศึกษาพยาบาลโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด พัฒนาทักษะทางการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีวิจารณญาณ มีการเรียนรู้ ด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย การปฏิบัติการพยาบาลเป็นความรู้เชิงประจักษ์ บนพื้นฐานของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ให้เป็น ผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เป็นผู้นำในด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน สังคมและประเทศชาติ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้บัณฑิต มีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้
มีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และนำมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม แก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน
ปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทุกระดับของสถานบริการสุขภาพ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของเชื้อชาติ ศาสนา
มีความสามารถในการวินิจฉัยปัญหาและความต้องการทางการพยาบาลและประเมิน ภาวะสุขภาพรวมทั้งให้บริการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มีทักษะในการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลรักษา การฟื้นฟูสภาพ และการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ตามขอบเขตของกฎหมายวิชาชีพ
ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ทำการวิจัยและนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล
มีส่วนร่วมในการพัฒนาและบริการวิชาการด้านสุขภาพแก่สังคม เผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ท้องถิ่น องค์กรของรัฐและเอกชน
มีภาวะผู้นำ คิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีวิจารณญาณ สามารถบริหารจัดการตนเอง บริหารจัดการทางการพยาบาลและบริหารทรัพยากร และสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัยในการทำงาน มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสำนึกในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และต่อสังคม
ทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
คุณสมบัติของผู้เข้า ศึกษา
สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
สถานภาพโสด อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี และไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ มีส่วนสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 40 กิโลกรัม และไม่เกิน 65 กิโลกรัม
มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่มีความพิการหรือทุพพลภาพ ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง และปราศจากโรคอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
มีความประพฤติดีและไม่เคยต้องคดีอาญายกเว้นคดีอันเป็นลหุโทษ
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
คัดเลือกจากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดม ศึกษาในระบบกลาง (Admission) โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
การคัดเลือกโดยวิธีการรับสมัครและสอบคัดเลือกตรงที่ มหาวิทยาลัยราชธานี
กำหนดการเปิดสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2551
ระบบการศึกษา
มหาวิทยาลัยใช้ระบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ดังนี้
ภาคการศึกษาปกติมี 2 ภาค คือภาคการศึกษาที่ 1 และภาคการศึกษาที่ 2 แต่ละภาคการศึกษามีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
ภาคฤดูร้อน มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์จะใช้เวลาศึกษาเป็นสองเท่าของการศึกษาภาคปกติ
ระยะเวลาการศึกษา
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตร 4ปี
การศึกษาตลอดหลักสูตรจะต้องได้หน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่าหน่วยกิตที่กำหนดใน หลักสูตรและจะต้องมีเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 8 ภาคการศึกษาปกติและ 2 ภาคฤดูร้อนและไม่เกิน 16 ภาคการศึกษาปกติ
การคิดหน่วยกิต
1. รายวิชา ภาคทฤษฎี 1 หน่วยกิต ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง ต่อ ภาคการศึกษาปกติ
2. รายวิชาภาคปฏิบัติ 1 หน่วยกิต ใช้เวลาฝึกหรือทดลอง ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ
3. รายวิชาฝึกปฏิบัติ 1 หน่วยกิต ใช้เวลาฝึกปฏิบัติ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ
การลงทะเบียนเรียน
ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ ลงทะเบียนศึกษาได้ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิต สำหรับภาคการศึกษาฤดูร้อนได้ไม่เกิน 10 หน่วยกิต
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
การวัดผล
นักศึกษาทุกคนต้องมีเวลาเรียนในชั้นเรียนอย่างน้อย ร้อยละ 80 ของแต่ละภาคการศึกษา จึงจะมีสิทธิเข้าสอบ
การวัดผลการศึกษาในแต่ละรายวิชาให้ใช้ระดับอักษร ดังนี้
ระดับ | ความหมาย | แต้ม |
A |
Excellent ดี เยี่ยม |
4.0 |
B+ |
Very good ดีมาก |
3.5 |
B |
Good ดี |
3.0 |
C+ |
Fairly Good ค่อนข้างดี |
2.5 |
C |
Fair พอใช้ |
2.0 |
D+ |
Poor อ่อน |
1.5 |
D |
Very Poor อ่อนมาก |
1.0 |
F |
Failed ตก |
0.0 |
W | Withdrawn with permission (เพิกถอนโดยได้รับอนุมัติ) | |
I | Incomplete (การวัดผลยังไม่สมบูรณ์) | |
S | Satisfactory (พอใจ) | |
U | Unsatisfactory (ไม่พอใจ) |
การสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. สอบไล่ได้จำนวนหน่วยกิตครบตามหลักสูตร
2. ได้แต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
3. มีความประพฤติดี
4. ไม่มีพันธะใดๆ กับทางมหาวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร 145 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 35 หน่วยกิต
กลุ่ม วิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
กลุ่ม วิชามนุษย์ศาสตร์ 6 หน่วยกิต
กลุ่ม วิชาภาษา 14 หน่วยกิต
กลุ่ม วิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 104 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 31 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาชีพ 73 หน่วยกิต
วิชาบังคับภาคทฤษฎี 43 หน่วยกิต
วิชาบังคับภาคปฏิบัติ 30 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
หลักเกณฑ์การใช้รหัสวิชาใน หลักสูตร
รหัสวิชาในหลักสูตร ใช้นำหน้าชื่อวิชา ดังนี้
ABC DXX วิชา xxxxxx 3 (3 – 0 -3)
A หมายถึง คณะ โดยคณะพยาบาลศาสตร์ ใช้เลข 8
B หมายถึง หมวดวิชา
1. หมายถึง หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
2. หมายถึง หมวดวิชาเฉพาะ
3. หมายถึง หมวดวิชาเลือกเสรี
C หมายถึง กลุ่มวิชาย่อยใน B
1. หมายถึง กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
2. หมายถึง กลุ่มวิชาชีพ
D หมายถึง ปีที่ต้องศึกษาตามหลักสูตร
XX หมายถึง จำนวนวิชาที่มีอยู่ในแต่ละหมวด วิชา เรียงตามลำดับที่ต้องศึกษาก่อนหลัง
รายวิชา
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 35 หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร 6 หน่วยกิต
411 102 ปรัชญาทั่วไป3(3-0-6)
411 101 จิตวิทยาทั่วไป3(3-0-6)
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
412 103 สังคมศาสตร์บูรณาการ3(3-0-6)
412 104 การเมืองและการปกครองของไทย3(3-0-6)
กลุ่มวิชาภาษา 14 หน่วยกิต
413 112 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร2(2-0-4)
413 113 ภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา 13(3-0-6)
413 114 ภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา 23(3-0-6)
413 215 ภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาล 13(3-0-6)
413 316 ภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาล 23(3-0-6)
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ 9 หน่วยกิต
414 115 คณิตศาสตร2(2-0-4)
111 112 ฟิสิกส์ทั่วไป3(3-0-6)
111 113 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป1(0-3-0)
114 119 เคมีอินทรีย3(2-3-4)
หมวดวิชาเฉพาะ 104 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 31 หน่วยกิต
414 113 สถิติเบื้องต้น3(3-0-6)
821 101 เศรษฐศาสตร์สุขภาพเบื้องต้น2(2-0-4)
821 202 กฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล3(3-0-6)
821 103 จิตวิทยาพัฒนาการ2(2-0-4
821 104 ชีวเคม2(2-0-4
821 205 เภสัชวิทยาสำหรับพยาบาล2(2-0-4)
821 206 โภชนาการและโภชนบำบัด3(2-3-4)
821 207 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 13(2-3-4)
821 208 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 23(2-3-4)
821 209 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา3(2-3-4)
821 210 พยาธิสรีรวิทยา3(2-3-4)
821 211 วิทยาการระบาด2(2-0-4)
กลุ่มวิชาชีพ 73 หน่วยกิต
ภาคทฤษฎี 43 หน่วยกิต
822 201 แนวคิดและหลักการทางการพยาบาล3(3-0-6)
822 202 การพยาบาลพื้นฐาน 12(2-0-4)
822 204 การพยาบาลพื้นฐาน 22(2-0-4)
822 407 สัมมนาประเด็นและแนวโน้มทางการพยาบาล2(2-0-4)
822 308 การวิจัยทางการพยาบาล3(3-0-6)
822 209 การพยาบาลมารดาและทารก3(3-0-6)
822 211 การผดุงครรภ์ 12(2-0-4)
822 312 การผดุงครรภ์ 22(2-0-4)
822 214 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 12(2-0-4)
822 315 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 22(2-0-4)
822 317 การพยาบาลผู้ใหญ่ 13(3-0-6)
822 419 การพยาบาลผู้ใหญ่ 23(3-0-6)
822 321 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 12(2-0-4)
822 322 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 22(2-0-4)
822 324 การพยาบาลอนามัยชุมชน 12(2-0-4)
822 325 การพยาบาลอนามัยชุมชน 22(2-0-4)
822 427 การพยาบาลผู้สูงอายุ2(2-0-4)
822 429 หลักการรักษาพยาบาลเบื้องต้น2(2-0-4)
822 431 การบริหารการพยาบาล2(2-0-4)
ภาคปฏิบัติ 30 หน่วยกิต
822 203 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 12(0-8-0)
822 205 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 21(0-4-0)
822 206 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 32(0-8-0)
822 310 ปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก3(0-12-0)
822 313 ปฏิบัติการผดุงครรภ์4(0-16-0)
822 316 ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น3(0-12-0)
822 318 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 13(0-12-0)
822 420 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 23(0-12-0)
822 423 ปฏิบัติการสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช3(0-12-0)
822 426 ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน3(0-12-0)
822 428 ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ1(0-4-0)
822 430 ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น1(0-4-0)
822 432 ปฏิบัติการบริหารการพยาบาล1(0-4-0)
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
นักศึกษาต้องเลือกเรียนจากรายวิชาต่อไปนี้ หรือจากรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยราชธานี อย่างน้อย 6 หน่วยกิต
830 201 พลวัตกลุ่ม2(2-0-4)
830 402 พืชสมุนไพรในการแพทย์แผนไทย2(2-0-4)
830 303 เวชศาสตร์แผนไทย2(2-3-4)
830 404 การใช้คอมพิวเตอร์ทางการพยาบาล2(2-0-4)
830 105 พลศึกษา2(1-2-4)
830 406 หัวข้อพิเศษทางการพยาบาล2(2-0-4)
412 218 สุนทรียศาสตร2(2-0-4)
แผนการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
411 - 101 จิตวิทยาทั่วไป3(3-0-6)
413 - 112 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร2(2-0-4)
412 - 103 สังคมศาสตร์บูรณาการ3(3-0-6)
413 - 113 ภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา 13(3-0-6)
114 - 119 เคมีอินทรีย3(3-0-6)
414 - 115 คณิตศาสตร์2(2-0-4)
111- 112 ฟิสิกส์ทั่วไป3(3-0-6)
111- 113 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป1(0-3-0)
รวม 20 (19-3-38)
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
411 - 102 ปรัชญาทั่วไป 3(3-0-6)
412 - 104 การเมืองและการปกครองของไทย 3(3-0-6)
413 - 114 ภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา 2 3(3-0-6)
821 - 104 ชีวเคมี2(2-0-4)
821 - 103 จิตวิทยาพัฒนาการ2(2-0-4)
414 - 113 สถิติเบื้องต้น 3(3-0-6)
821 - 101 เศรษฐศาสตร์สุขภาพเบื้องต้น2(2-0-4)
830 - 404 การใช้คอมพิวเตอร์ทางการพยาบาล2(2-0-4)
รวม 20 (20-0-40)
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
413- 215 ภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาล 13(3-0-6)
821 - 207 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 13(2-3-4)
822 - 201 แนวคิดและหลักการทางการพยาบาล3(3-0-6)
822 - 205 เภสัชวิทยาสำหรับพยาบาล2(2-0-4)
821 - 209 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา3(2-3-4)
822 - 202 การพยาบาลพื้นฐาน 12(2-0-4)
822 - 203 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 12(0-8-0)
รวม 18 (14-14-28)
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
821 - 208 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 23(2-3-4)
821 - 202 กฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล3(3-0-6)
821 - 211 วิทยาการระบาด2(2-0-4)
821 - 206 โภชนาการและโภชนบำบัด3(2-3-4)
822 - 214 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 12(2-0-4)
822 – 204 การพยาบาลพื้นฐาน 22(2-0-4)
822 - 205 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 21(0-4-0)
821 - 210 พยาธิสรีรวิทยา3(2-3-4)
รวม 19 (15-13-30)
ชั้นปีที่ 2 ภาคฤดูร้อน
822 - 209 การพยาบาลมารดาและทารก3(3-0-6)
822 - 211 การผดุงครรภ์ 12(2-0-4)
822 – 206 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 32(0-8-0)
รวม 7 (5-8-10)
ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1
413 – 316 ภาษาอังกฤษสำหรับการพยาบาล 2 3(3-0-6)
822 - 315 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 22(2-0-4)
822 - 310 ปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก3(0-12-0)
822 - 324 การพยาบาลอนามัยชุมชน 12(2-0-4)
822 - 317 การพยาบาลผู้ใหญ่ 12(2-0-4)
822 - 317 การพยาบาลผู้ใหญ่ 1 3(3-0-6)
822 – 316 ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น3(0-12-0)
822 - 312 การผดุงครรภ์ 22(2-0-4)
รวม 18 (12-24-24)
ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2
822 - 321 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 1 2(2-0-4)
822 - 325 การพยาบาลอนามัยชุมชน 2 2(2-0-4)
822 - 313 ปฏิบัติการผดุงครรภ์4(0-16-0)
822 - 308 การวิจัยทางการพยาบาล3(3-0-6)
822 - 318 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 13 (0-12-0)
รวม 14 (7-28-14)
ชั้นปีที่ 3 ภาคฤดูร้อน
822 - 322 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 22(2-0-4)
xxx - xxx วิชาเลือกเสรี2(2-0-4)
รวม 4 (4-0-8)
ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1
822 - 429 หลักการรักษาพยาบาลเบื้องต้น2(2-0-4)
822 - 431 การบริหารการพยาบาล2(2-0-4)
822 - 423 ปฏิบัติการสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช3(0-12-0)
822 - 419 การพยาบาลผู้ใหญ่ 2 3(3-0-6)
822 - 420 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 23(0-12-0)
830 - 406 หัวข้อพิเศษทางการพยาบาล2(2-0-4)
รวม 15 (9-24-18)
ชั้น ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2
822 - 427 การพยาบาลผู้สูงอายุ2(2-0-4)
822 - 428 ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ1(0-4-0)
822 - 426 ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน3(0-12-0)
822 - 430 ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น1(0-4-0)
822 - 432 ปฏิบัติการบริหารการพยาบาล1(0-4-0)
822 - 407 สัมมนาประเด็นและแนวโน้มทางการพยาบาล2(2-0-4)
xxx - xxx การพยาบาลเลือกสรร (Internship)Non Credit
รวม 10 (4-24-8)
ลักษณะวิชาในหลักสูตร
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
412 103 สังคมศาสตร์บูรณาการ 3(3-0-6)
(Integrated Social Science)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมวิทยาและจิตวิทยาในลักษณะบูรณาการเกี่ยวกับธรรมชาติ ของมนุษย์ ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของมนุษย์และการพัฒนา บุคลิกภาพ รูปแบบ การเรียนรู้ในสังคม รวมถึงการเรียนรู้บุคคลและการอ้างเหตุผล การจัดระเบียบทางสังคม การเมือง การปกครอง สถาบันสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง ปัญหาสังคมเมืองและชนบทและวิเคราะห์ปัญหาสังคมที่สำคัญ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมไทยแบบยั่งยืนต่อไป
412 104 การเมืองและการปกครองของไทย 3(3-0-6)
(Thai Politics and Government )
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ศึกษาวิวัฒนาการและพฤติกรรมของสถาบันการเมืองและการปกครอง โครงสร้างการปกครองของรัฐและสถาบันทางการเมืองในประเทศไทย อำนาจอธิปไตยในระบอบประชาธิปไตย สถาบันนิติบัญญัติและตุลาการ บทบาททางการเมืองของประชาชนต่อสถาบันต่างๆ เช่น องค์กรฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง ระบบราชการและกระบวนการในการกำหนดนโยบายของรัฐ การแก้ไขปัญหาขัดแย้งในสังคม การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการเสริมสร้างความมั่นคงของรัฐ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
411 102 ปรัชญาทั่วไป 3(3-0-6)
(General Philosophy)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ปัญหาสำคัญ ๆ ในปรัชญา เช่น ความเป็นจริง ความเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของมนุษย์ ความรู้ของ มนุษย์ จริยธรรมของมนุษย์เพื่อให้เข้าใจโลกทรรศน์แนวต่างๆ กัน
411 101 จิตวิทยาทั่วไป 3(3-0-6)
(General Psychology)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ศึกษาหลักการและข้อเท็จจริงของมนุษย์ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและองค์ประกอบที่ สำคัญทางจิตวิทยาอื่นๆ เช่น กลุ่มพัฒนา นิสัย แรงจูงใจ พฤติกรรม บุคลิกภาพ สติปัญญา การเรียนรู้ ความรู้สึกและการรับรู้ ความคิดความจำ และการลืม การจูงใจกลุ่มสังคม การตัดสินใจ ความขัดแย้งและการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ การแก้ ปัญหาสาเหตุของความเครียด และความวิตกกังวล
กลุ่มวิชาภาษา
413 112 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 2(2-0-4)
(Integrated Thai Language )
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ศึกษาลักษะสำคัญของภาษาไทยและฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาไทยพร้อมการฟัง การอ่าน การเขียนและการพูดตลอดจนการศึกษา การเขียนรายงานทางวิชาการ และการเขียนติดต่อราชการ เช่นหนังสือราชการและจดหมายธุรกิจ บทสัมภาษณ์ข่าวและข้อความโฆษณา
413 113 ภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา 1 3(3-0-6)
(University English I)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
พัฒนาทักษะในการอ่าน ความเข้าใจภาษาในระดับคำ กลวิธีในการอ่านให้มีประสิทธิภาพ การจดโน้ต การสรุป การแยกแยะข้อความที่เป็นจริงกับข้อความที่เป็นความคิดเห็น สำหรับเนื้อหาของ การอ่านจะเน้นเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสำนวนภาษาที่ใช้เกี่ยวกับการเปรียบเทียบการวัด การให้คำนิยาม การจัดแบ่งประเภทและอื่นๆ ส่วนทักษะทางด้านการฟัง จะเน้นการฟังภาษาที่ใช้ในการทักทาย การพูดโทรศัพท์ การบอกทิศทาง การนับเลข การออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะเสียงที่เป็นปัญหาสำหรับนักศึกษาไทย
413 114 ภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา 2 3(3-0-6)
(University English II)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 413 107 ภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา 1
พัฒนาทักษะการเน้นการอ่านข้อความทางด้านวิทยาศาสตร์ละเทคโนโลยี ต่อจากรายวิชา 413 107 สำนวนภาษาที่จะใช้เกี่ยวกับการแสดงเหตุผล ขบวนการและการลำดับเหตุการณ์ หน้าที่และการกระทำการแสดงความมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ การแสดงวิธีการในลักษณะต่างๆ การแสดงถึงโครงสร้างและรูปร่างลักษณะของสิ่งต่างๆการบอกสัดส่วน การบอกความถี่ และบอกความน่าจะเป็นไปได้ ส่วนทักษะทางด้านการฟัง จะเน้นการฝึกฟังภาษาทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และด้านทั่วๆไป โดยพยายามจับใจความสำคัญของเรื่องและการฟังรายละเอียดของเรื่อง โดยฝึกข้อความจากสั้นและง่ายไปสู่ข้อความที่ยาวขึ้นยากขึ้น
413 215 ภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาล 1 3(3-0-6)
(English for Nurse I)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
วิธีการอ่านศัพท์ทางการแพทย์ การจับใจความสำคัญจากการอ่านประวัติการเจ็บป่วยของผู้รับบริการ การเพิ่มพูนศัพท์ การใช้พจนานุกรมทางการแพทย์
413 316 ภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาล 2 3(3-0-6)
(English for Nurse II)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 413 115 ภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาล 1
การใช้ภาษาที่จำเป็นในการติดต่อสอบถามระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ระหว่างผู้ ป่วย ผู้รับริการ การเขียนบันทึกทางการพยาบาล การติดต่อสื่อสาร บันทึกข้อความและรายงานแบต่างๆตลอดจนการแปลความหมายรายงานผลการตรวจต่างๆ
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์
414 115 คณิตศาสตร์ 2(2-0-4)
(Mathematics)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
วิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ อนุพันธ์ ฟังก์ชันและอินเวอร์สฟังก์ชัน ความสัมพันธ์ เซ็ต นัมเบอร์ซิสเต็ม แคลคูลัส
111 112 ฟิสิกส์ทั่วไป 3(3-0-6)
(General Physics)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
กลศาสตร์ของอนุภาค และเทหวัตถุแข็งแกร่ง คุณสมบัติของสารกลศาสตร์ของไหล ความร้อน การสั่นสะเทือน และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์เบื้องต้น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า
111 113 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป 1(0-3-0)
(General Physics Laboratory)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการตามเนื้อหาวิชา 111 112 พร้อมทั้งเขียนรายงานและการทดลอง
114 119 เคมีอินทรีย์ 3(2-4-3)
(Organic Chemistry)
วิชาที่ต้องเรียน มาก่อน : ไม่มี
โครงสร้างและพันธะ ในสารอินทรีย์ ฟังชัลนัลกรุ๊ป สเตอริโอเคมี และวิธีเรียกชื่อสารอินทีรย์สมบัติทางกายภาพ การเตรียม การเกิดปฏิกริยาของสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น อัลเคน อัลคีน อัลไคน์ อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน สารประกอบอัลคิลเฮไลด์ อัลกอฮอล์ และฟีนอล อิเธอร์ อัลดีไฮด์ และคีโตน กรดคาร์บอกซิลิกและอนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิก รวมทั้งการประยุกต์ใช้ความรู้ทางเคมีอินทรีย์ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนิน ชีวิตและการปฏิบัติการพยาบาล
หมวดวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
414 113 สถิติเบื้องต้น 3(3-0-6)
(Introduction to Statistics)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 414 115คณิตศาสตร์
ความหมายของสถิติ ประโยชน์ของสถิติในการตัดสินใจและวาง แผนวางด้านต่างๆ การเก็บรวบรวมข้อมูล การแจกแจงความน่าจะเป็น การแจกแจง แบบทวินามแบบบัวซอง และแบบปกติ การสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบ ปกติการประมาณค่าและการทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย และสัดส่วนของประชากร
821 101 เศรษฐศาสตร์สุขภาพเบื้องต้น 2(2-0-4)
(Introduction to Health Economics)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ความสำคัญด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีผลต่อการบริการสุขภาพ พฤติกรรมของผู้บริโภคใน การใช้บริการทางสุขภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และกำลังซื้อบริการ สุขภาพ อิทธิพลและภาวะเศรษฐกิจที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านบริการ สุขภาพ บทบาทของการประกันสังคมและการประกันสุขภาพ
821 202 กฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพทางการพยาบาล 3(3-0-6)
(Law and Professional Nursing Ethics)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
กฎหมายสาธารณสุขที่เกี่ยวกับการปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน โรคติดต่อ สถานพยาบาล การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติประกันสังคม วัตถุอันตราย กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา
821 103 จิตวิทยาพัฒนาการ 2(2-0-4)
(Development Psychology)
วิชาที่ต้อง เรียนมาก่อน : 411 203 จิตวิทยาทั่วไป
ทฤษฏีพัฒนาการ ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และพัฒนาการของบุคคลตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อพัฒนาการ และการส่งเสริมพัฒนาการไปสู่วุฒิภาวะสูงสุด ตลอดถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
821 104 ชีวเคมี 2(2-0-4)
(Biochemistry)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 114 103 เคมีอินทรีย์
คุณสมบัติ โครงสร้าง ชนิด กระบวนการย่อย ดูดซึมและการเผาผลาญของสารคาร์โบไฮเดรต ลิ ปิดส์ กรดแอมิโน วิตามิน เกลือแร่ ฮอร์โมน เพื่อประโยชน์และความสมดุลของร่างกาย
821 205 เภสัชวิทยาสำหรับพยาบาล 2(2-0-4)
( Pharmacology for Nursing)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ยาประเภทต่างๆ ที่นำมาใช้ในงานบริการสุขภาพ ชนิด แหล่งที่มา การคิดคำนวณขนาดของยา สรรพคุณ การออกฤทธิ์ ข้อบ่งใช้ อาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนข้อห้ามใช้ วิธีเก็บรักษายาที่ถูกต้อง วิธีต่างๆ ที่ใช้ในการให้ยาและการพยาบาล
821 206 โภชนาการและโภชนบำบัด 3(2-3-4)
(Nutrition and Health)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ประเภทและคุณค่าของสารอาหาร แหล่งที่มา ประโยชน์ของอาหารต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพชีวิต การบริโภคที่ เหมาะสม ปัญหาทุพโภชนาการ หลักการเลือกอาหารตามภาวะเศรษฐกิจและวัฒนธรรม การเลือกและจัดอาหารสำหรับผู้ ป่วย
821 207 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1 3(2-3-4)
(Anatomy and Physiology I)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ส่วนประกอบโครงสร้างและหน้าที่ของเซล เนื้อเยื่อ อวัยวะและการทำงานประสานกันของระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบประสาท
821 208 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 2 3(2-3-4)
(Anatomy and Physiology II)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 821 107 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1
ส่วนประกอบโครงสร้าง และการทำงานประสานกันของระบบการย่อยอาหารระบบขับถ่าย ปัสสาวะ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบสืบพันธุ์ การรักษา และควบคุมภาวะปกติของร่าง กาย
821 209 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา 3(2-3-4)
(Microbiology and Parasitology)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ชนิด รูปร่าง ลักษณะ คุณสมบัติและสรีรวิทยาของจุลินทรีย์ ปรสิตและแมลงที่มีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพอนามัยและการเกิดโรค การแพร่กระจาย การป้องกันโรค การทำลายการระงับความเจริญเติบโตของเชื้อโรค การติดเชื้อ และความต้านทาน
821 210 พยาธิสรีรวิทยา 3(2-3-4)
(Pathophysiology)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 821 209 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
กระบวนการเกิดโรค และพยาธิสภาพที่มีผลต่อการทำงานระบบต่างๆ ของร่างกาย พร้อมทั้งศึกษาอาการและอาการแสดงของโรค อันเนื่องจากพยาธิสภาพ เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้
821 211 วิทยาการระบาด 2(2-0-4)
(Epidemiology)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
แนวคิดพื้นฐานของวิทยาการระบาด การเกิดโรคในแง่นิเวศวิทยา ธรรมชาติของการเกิดโรค ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อ การป้องกันและการควบคุมโรคทั่วไป เครื่องบ่งชี้ภาวะสุขภาพอนามัยชุมชน และแหล่งข้อมูล การศึกษาทางวิทยาการระบาด การสอบสวน การระบาด การเฝ้าระวังทางวิทยาการระบาด บทบาทของพยาบาลในการควบ คุมและป้องกันโรค พระราชบัญญัติควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และแนวโน้มของ วิทยาการระบาด
หมวดวิชาชีพ
822 201 แนวคิดและหลักการทางการพยาบาล 3(3-0-6)
(Concepts and Principles in Nursing)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
วิวัฒนาการของทฤษฎีการพยาบาลกรอบแนวคิดทางการพยาบาล กระบวนการพยาบาล และความเกี่ยวข้องกับศาสตร์สาขาอื่นๆการนำกรอบแนวคิด กระบวนการแก้ปัญหาทาง การพยาบาลไปใช้ ในการปฏิบัติการพยาบาล
822 202 การพยาบาลพื้นฐาน 1 2(2-0-4)
(Fundamental of Nursing I)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ ความเจ็บป่วย บทบาทหน้าที่และของเขตความรับผิดชอบของพยาบาล ในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพของบุคคล โดยคำนึงถึงสภาวะร่างกาย สังคม และจิตวิญญาณ โดยใช้กระบวนการพยาบาล หลักการพยาบาล และส่งเสริมผู้รับบริการให้ดูแลตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนภาพตนเองได้เข้า กับสภาพแวดล้อม
822 203 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 1 2(0-8-0)
(Fundamental of Nursing Practicum I)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 102 การพยาบาลพื้นฐาน 1
สำรวจพฤติกรรมอนามัยของบุคคล ครอบครัว ชุมชนในสภาวะต่างๆ ศึกษาแหล่งให้บริการด้านสุขภาพอนามัย ปัจจัยส่งเสริมการเข้ารับบริการสุขภาพ ของประชาชน การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานบริการการประเมินสภาวะสุขภาพเพื่อการ ดูแลช่วยเหลือผู้รับบริการโดยใช้กระบวนการพยาบาล
822 204 การพยาบาลพื้นฐาน 2 2(2-0-4)
(Fundamental Nursing II)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 102 การพยาบาลพื้นฐาน 1
ให้การดูแลช่วยเหลือป้องกันบุคคลที่ได้รับภยันตรายประเภทต่างๆการนำกระบวน การพยาบาลมาใช้ในการช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหารการ ให้ยา การขับถ่ายอุจจาระ การขับถ่ายปัสสาวะ การซักประวัติ การตรวจร่างกายและการ ประเมินภาวะสุขภาพ การรับผู้ป่วยใหม่การจำหน่ายตลอดจนการส่งต่อและการดูแล ผู้ป่วยใกล้ถึงแก่กรรมและผู้ป่วยถึงแก่กรรมอย่างสมศักดิ์ศรี
822 205 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 2 1(0-4-0)
(Fundamental of Nursing Practicum II)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 104 การพยาบาลพื้นฐาน 2
ปฏิบัติการดูแลช่วยเหลือบุคคลที่ได้รับภยันตรายต่างๆ การตรวจร่างกายและ การประเมินภาวะสุขภาพ การช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การหายใจ การไหลเวียน การเคลื่อนไหว การรับรู้ และภูมิคุ้มกัน หลักการให้ยา การให้สารน้ำทาง หลอดเลือดดำ โดยใช้ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล
822 206 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 3 2(0-8-0)
(Fundamental of Nursing Practicum III)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 105 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 2
ฝึกปฏิบัติการใช้กระบวนการพยาบาล การสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย การบันทึกทางการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลในการ ช่วยเหลือผู้ป่วย ครอบครัวที่มีภาวะสุขภาพเบี่ยงเบน
822 407 สัมมนาประเด็นและแนวโน้มทางการพยาบาล 2(2-0-4)
(Seminar Issues and Trends in Nursing Profession)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
สัมมนาปัญหาและปัจจัยที่มีผลต่อวิชาชีพการพยาบาลทั้งด้านการศึกษา การบริหารและการบริการรวมทั้งแนวโน้มของวิชาชีพการพยาบาลและแนวทางในการ พัฒนาวิชาชีพ
822 308 การวิจัยทางการพยาบาล 3(3-0-6)
(Introduction to Nursing Research)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 414 213 สถิติเบื้องต้น
หลักและวิธีการวิจัย การวางโครงการและกระบวนการวิจัยโดยทั่วไป เพื่อการเลือกปัญหา การเก็บ ข้อมูล เตรียมหรือใช้ในการวิจัย การใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลการแปลความ หมายของข้อมูล การนำผลการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ทางด้านการพยาบาล ฝึกเขียนโครงการวิจัยทางการพยาบาล
822 209 การพยาบาลมารดาและทารก 3(3-0-6)
(Maternal and Child Nursing )
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 206 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 3
แนวคิดและหลักการพยาบาลมารดาและทารก หลักการพยาบาลครอบครัว รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพครอบครัว การให้คำปรึกษาเรื่องการเตรียมตัวก่อน สมรส ขบวนการสืบพันธุ์ พัฒนาการทารกในครรภ์ การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์การเปลี่ยนแปลงทางร่าง กาย จิตสังคมของการตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอดและทารกแรกเกิด เพื่อส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกและครอบครัว
822 310 ปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก 3(0-12-0)
(Maternal and Child Nursing Practicum )
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 209 การพยาบาลมารดาและทารก
ฝึกปฏิบัติการให้คำแนะนำ คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนก่อนสมรส การวางแผนครอบครัวการเตรียมตัวของมารดาในการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตสังคม และการวางแผนคลอดบุตร การวางแผนดูแลบุตร ฝึกปฏิบัติการตรวจครรภ์ ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์เจ็บครรภ์และภายหลังคลอด รวม ทั้งการทำคลอดปกติ การตัดและซ่อมแซมฝีเย็บ การบริบาลทารกเกิดใหม่ และส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
822 211 การผดุงครรภ์ 1 2(2-0-4)
(Midwifery 1)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 209 , 822 310การพยาบาลและปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก
กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตสังคมของการตั้งครรภ์ ระหว่างการคลอด ภายหลังคลอด การประเมินทารกในครรภ์ ทารกเกิดปกติ โดยการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการวางแผน แก้ปัญหา การป้องกัน การฟื้นฟู และการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของมารดา ทารก และครอบครัวรวมทั้งศึกษากลไกการคลอด การวินิจฉัยการคลอด และการทำคลอดปกติ
822 312 การผดุงครรภ์ 2 2(2-0-4)
(Midwifery 2)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 211 การผดุงครรภ์ 1
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอดและทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยง สูติศาสตร์หัตการ โดยใช้กระบวนการพยาบาล
822 313 ปฏิบัติการผดุงครรภ์ 4(0-16-0)
(Midwifery Practicum)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 312 การผดุงครรภ์ 2
ฝึกปฏิบัติการทำคลอดปกติ และการช่วยทำคลอดในภาวะปกติรวมทั้งส่งเสริมสุขภาพและป้องกันในผู้ที่มีปัยหา สุขภาพที่มีภาวะแทรกซ้อนระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดและหลังคลอด และป้องกันโรคภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
822 214 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 2(2-0-4)
(Nursing of Children and Adolescents I)
วิชาที่ต้องเรียนก่อน : 822 206 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 3
ศึกษาแนวคิดและหลักการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ การ ประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการการใช้กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริม สุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพของเด็กและวัยรุ่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลเด็กและวัยรุ่นขณะเจ็บป่วย ( Family Center Care )
822 315 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2 2(2-0-4)
(Nursing of Children and Adolescent II)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 214 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1
ศึกษาแนวคิดและหลักการพยาบาลในการดูแลเด็กแรกเกิดถึงวัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะ วิกฤติของสุขภาพ เสี่ยงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการผิดปกติ ความพิการ ปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนในระยะเฉียบพลัน ระยะเรื้อรัง ภาวะวิกฤติและในระยะสุดท้ายของชีวิต รวมทั้งปัจจัยที่มีอิทธิพลก่อให้เกิดภาวะวิกฤติของสุขภาพ การใช้กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ การส่งต่อกรณีมีความพิการต่อเนื่องและบทบาทของครอบครัวในการดูแลเด็กและวัย รุ่นในภาวะวิกฤติ
822 316 ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 3(0-12-0)
(Nursing of Children and Adolescent Practicum)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 215 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2
ฝึกปฏิบัติ การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพเด็กวัยรุ่นที่เผชิญกับการเจ็บป่วย ใช้กระบวนการพยาบาลในการ ดูแลเด็กที่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนทั้งในระยะเฉียบพลัน ระยะเรื้อรัง ภาวะวิกฤติและในระยะสุดท้ายของชีวิต รวมถึงการส่งต่อ และสนับสนุนส่งเสริมบทบาทของครอบครัวในการดูแลเด็กป่วย
822 317 การพยาบาลผู้ใหญ่ 1 3(3-0-6)
(Nursing of the Adults I)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 206 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 3
ปัญหาทางสุขภาพอนามัยที่พบบ่อยในผู้ใหญ่ เน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วยในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ และการดูแลช่วยเหลือ เมื่อมีปัญหาสุขภาพที่ง่ายไม่ซับซ้อน
822 318 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 3(0-12-0)
(Nursing of The Adults Practicum I)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 217 การพยาบาลผู้ใหญ่ 1
ฝึกปฏิบัติการใช้กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันความเจ็บป่วย การดูแลพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพทางด้านอายุรกรรม และศัลยกรรมที่ไม่ ซับซ้อน การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชนเพื่อการดูแลที่ต่อเนื่อง
822 419 การพยาบาลผู้ใหญ่ 2 3(3-0-6)
(Nursing of the Adults II)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 318 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1
การประเมินภาวะสุขภาพ การวางแผนดูแลผู้รับบริการผู้ใหญ่ที่มีปัญหาซับซ้อนทางด้านอายุรกรรมและ ศัลยกรรม ปัญหาเกี่ยวกับระบบอวัยวะต่างๆ ภาวะฉุกเฉิน โรคเรื้อรัง การฟื้นฟู สุขภาพ การใช้แหล่งทรัพยากรชุมชนเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง
822 420 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 3(0-12-0)
(Nursing of The Adults Practicum II)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 319 การพยาบาลผู้ใหญ่ 2
ฝึกปฏิบัติการใช้กระบวนการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนทางอายุรกรรมและศัลยกรรมในผู้ ป่วยหนักหรือวิกฤต ฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย เทคโนโลยีใหม่ๆ
822 321 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 1 2(2-0-4)
(Mental Health and Psychiatric Nursing I)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 821 103 จิตวิทยาพัฒนาการ
แนวคิด หลักทฤษฎี บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของพยาบาล ในการส่งเสริมสุขภาพจิตของบุคคล ครอบครัวและชุมชน การส่งเสริมและรักษาสุขภาพจิต การป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต ปัญหาที่มีผลต่อสุขภาพจิตในสังคมไทย มโนคติเกี่ยวกับตนเอง การใช้ตนเองเป็นเครื่องมือ ในการบำบัดพฤติกรรมที่ใช้แก้ปัญหา เผชิญปัญหาในสุขภาพจิต แนวทางในการช่วยเหลือและการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิต
822 322 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 2 2(2-0-4)
(Mental Health and Psychiatric Nursing II)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 321 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 1
การดูแลบุคคลที่มีพฤติกรรมผิดปกติทางจิต การจำแนกโรคทางจิตเวช การบำบัดรักษาทางจิตเวช หลักการจิตเวชชุมชน แหล่งทรัพยากรในชุมชน เพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตการป้องกันโรคจิต โรคประสาท การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ แนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน
822 423 ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 3(0-12-0)
(Mental Health and Psychiatric Nursing Practicum )
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 322 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 2
ฝึกปฏิบัติการ ประเมินสภาวะสุขภาพของบุคคล โดยเน้นการประเมินสภาวะทางจิต การสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิต การแนะนำ การปรึกษา และการให้สุขภาพจิตศึกษา เพื่อป้องกันการเกิดอาการทางจิต และส่งเสริมสุขภาพจิต
822 324 การพยาบาลอนามัยชุมชน 1 2(2-0-4)
(Community Health Nursing I)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 206 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 3
หลักและแนวคิดอนามัยชุมชน สถานการณ์และแนวโน้มด้านการสาธารณสุขของประเทศ นโยบายแผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ระบบการบริหารสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการสาธารณสุขมูลฐาน ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ บทบาทหน้าที่ของพยาบาลอนามัยชุมชน การดูแลอนามัยครอบครัว อนามัยโรงเรียนและการให้สุขศึกษาในชุมชน
822 325 การพยาบาลอนามัยชุมชน 2 2(2-0-4)
(Community Health Nursing II)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 324 การพยาบาลอนามัยชุมชน 1
องค์ประกอบเกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุข การบริหารงานสาธารณสุข การวินิจฉัยอนามัยชุมชนเชิงวิทยาการระบาด ชีวสถิติ ทฤษฎีการพยาบาลและการ อนามัยชุมชน บทบาทหน้าที่ของพยาบาลอนามัยชุมชน ในการแก้ไขปัญหาอนามัยชุมชน การให้บริการแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน รวมทั้งการพยาบาลอาชีวอนามัย
822 426 ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน 3(0-12-0)
(Community Health Nursing Practicum )
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 325 การพยาบาลอนามัยชุมชน 2
ฝึกประสบการณ์ วิชาชีพการพยาบาลอนามัยชุมชน โดยนำความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการให้การดูแลสุขภาพเบื้องต้น การดูแลครอบครัว งานอนามัยโรงเรียนงานอาชีวอนามัย การวินิจฉัยชุมชนและการแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน โดยใช้กระบวนการพยาบาล หลักการบริหารงานอนามัยชุมชนและการดูแลตนเองเป็นพื้นฐานในการฝึกประสบการณ์
822 427 การพยาบาลผู้สูงอายุ 2(2-0-4)
(Nursing of the Elderly)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 319 การพยาบาลผู้ใหญ่ 2
ทฤษฎีการสูงอายุ มโนคติที่สัมพันธ์กับความต้องการของผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพการป้องกัน โรค และการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม บทบาทของครอบครัวและสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ
822 428 ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ 1(0-4-0)
(Nursing of the Elderly Practicum)
วิชาที่ต้องเรียนมา ก่อน : 822 427 การพยาบาลผู้สูงอายุ
ฝึกปฏิบัติการใช้กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพ การป้อนกันโรค และการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคมฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ของครอบครัวและสังคม
822 429 หลักการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 2(2-0-4)
(Basic Medical Care)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 104 การพยาบาลพื้นฐาน 2
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของพยาบาล ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น วิธีการซักประวัติ ประเมินสภาวะของผู้รับบริการ การวินิจฉัยทางการพยาบาล การให้การแนะนำ ช่วยเหลือเบื้องต้น ตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
822 430 ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 1(0-4-0)
(Basic Medical Care Practicum)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 429 หลักการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ฝึกปฏิบัติการซักประวัติ การประเมินสภาวะผู้รับบริการ การวินิจฉัยทางการพยาบาล การให้การแนะนำ ช่วยเหลือและการส่งต่อผู้ป่วยตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข
822 431 การบริหารการพยาบาล 2(2-0-4)
(Nursing Management)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : การพยาบาลปี 1 , 2 และ 3
หลักและวิธีการบริหารงาน การวางแผน การจัดรูปแบบองค์กร สายงานการบังคับ บัญชา การบริหารงานบุคคล การมอบหมายงาน การนิเทศ การประเมินผลงาน และการประยุกต์ความรู้ในการบริหารงานบนหอผู้ป่วย
822 432 ปฏิบัติการบริหารการพยาบาล 1(0-4-0)
(Nursing Management Practicum)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 822 433 การบริหารการพยาบาล
ฝึกปฏิบัติการบริหารการพยาบาลบนหอผู้ป่วย การวางแผน การจัดการบริหาร และมอบหมายงาน การนิเทศและการประเมินผลการพยาบาล
หมวดวิชาเลือกเสรี
830 201 พลวัตกลุ่ม 2(2-0-4)
(Group Dynamics)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
พื้นฐานกระบวนการกลุ่ม รูปแบบของอิทธิพลกลุ่มที่มีต่อมนุษย์สัมพันธ์ ลักษณะกลุ่มบุคคล การวิ เคราะห์ พฤติกรรมของผู้นำและสมาชิกในกลุ่มความเข้าใจและการยอมรับพฤติกรรมตนเอง และของผู้อื่น อันจะช่วยให้การดำเนินงานของกลุ่มประสบผลสำเร็จ
830 402 พืชสมุนไพรในการแพทย์แผนไทย 2(2-0-4)
(Herbs)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
พืชสมุนไพร ชื่อไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ วงศ์ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ส่วนประกอบที่สำคัญ ประโยชน์ของพืชสมุนไพรที่ใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
830 303 เวชศาสตร์แผนไทย 2 (2-3-4) (Thai Medicine)
การดูแลรักษาสุขภาพโดยไม่ต้อง รับประทานยา โดยการนำสมุนไพรต่างๆมาใช้ปรุงแต่งเป็นยาสำหรับใช้ภายนอก เพื่อใช้ในการบรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดอาการอักเสบ หรือบำรุงผิวพรรณ ซึ่งเป็นการใช้ภายนอก ศึกษารากฐานความรู้ของภูมิปัญญาไทย ที่นำมาประยุกต์เข้ากับการนวดเท้าแบบจีนโดยใช้สมุนไพรร่วมด้วย เทคนิคการทำ สปาเท้า เทคนิคการนวดน้ำมัน เทคนิคการนวดสลายไขมัน เทคนิคการนวดเท้า คอ บ่า ไหล่ เทคนิคการขัดตัว เทคนิคการพอกตัว
830 404 การใช้คอมพิวเตอร์ทางการพยาบาล 2(2-0-4)
(Computer Application in Nursing)
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ศึกษาความเป็นมาและวิวัฒนาการ ทางคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบ และหน้าที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การใช้คอมพิวเตอร์ทางการพยาบาล การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการพยาบาล การจัดการฐานข้อมูลทางการพยาบาล การจัดรูปแบบรายการต่างๆ ทางการพยาบาลและคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
830 105 พลศึกษา 2(1-2-4)
(Physical education)
ฝึกปฏิบัติกิจกรรมการออกกำลัง กายอย่างถูกต้องตามหลักการของสรีระวิทยา การออกกำลังกาย นันทนาการ กิจกรรมเข้าจังหวะ ลีลาศ การคิดรูแบบการออกกำลังกาย เพื่อนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับตนเองและกลุ่ม เป็นผู้นำการออกกำลังกายเพื่อการรักษาสุขภาพ เสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและความสามัคคีในสังคม ทักษะเบื้องต้นของการต่อสู้และการป้องกันตัวแขนงต่างๆ
830 406 หัวข้อพิเศษทางการพยาบาล 2(2-0-4)
(Special topics in Nursing)
ศึกษาและ อภิปรายปัญหา หัวข้อในด้านการพยาบาล เกี่ยวกับ การผดุงครรภ์ การพยาบาลมารดาและทารก การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น การพยาบาลผู้ใหญ่ การพยาบาลผู้สูงอายุ การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์ การพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาพยาบาลขั้นต้น และกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์และจรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
412 218 สุนทรียศาสตร์ 2(2-0-4)
(Aesthetics)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
อิทธิพลของสุนทรียศาสตร์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต การตระหนักในคุณค่า ความงาม ความไพเราะของศิลปะ รูปแบบต่างๆ ทั้งที่มีอยู่ในธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปของวรรณคดี ดนตรี จิตรกรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม